พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
หลวงพ่อเงิน พิม...
หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สามชาย
หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตาสามชาย สร้างเมื่อประมาณปี 2450
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลานพิมพ์ขี้ตา นักนิยมพระเรียกขานตามรายละเอียดที่ติดมากับองค์พระ กล่าวคือ บริเวณใต้นัยน์ตาขวาของรูปหล่อช่วงติดกับดั้งจมูก
จะมีเม็ดเนื้อเกินคล้ายขี้ตา จึงเป็นที่มาของนามว่าพิมพ์ขี้ตา
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตานี้ ตามความเข้าใจน่าจะเป็นงานเทหล่อฝีมือช่างชาวบ้าน
ฉะนั้นความประณีตสวยงามไม่อาจเทียบกับพิมพ์นิยมซึ่งเทหล่อโดยนายช่างจากบ้านช่างหล่อ
แต่ก็ทำให้เกิดเสน่ห์ของงานศิลป์อีกรูปแบบ รูปหล่อพิมพ์ขี้ตานี้ขบวนการผลิตเทหล่อเริ่มจาก
การทำแม่พิมพ์(บล็อก)ด้านหน้าและหลัง หลังจากนั้นจะเข้าขบวนการทำหุ่นเทียนคือการนำขี้ผึ้ง
(สำหรับการทำพระ)การตีพิมพ์ในแม่พิมพ์(บล็อก) และนำหุ่นเทียน(แบบที่ได้จากการตีพิมพ์ขี้ผึ้งนี้จะเรียกว่าหุ่นเทียน) มาทาน้ำขี้วัวหลายเที่ยวหลังจากนั้นจึงเข้าดิน-ผูกลวด (กันเบ้าแตก) –
จากนั้นเมื่อได้ฤกษ์เททองหล่อจะนำเบ้าพระนั้นสุมสำรอกหุ่นเทียนและเทหล่อ ความแตกต่างของขบวนการผลิตระหว่างพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาอยู่ที่พระพิมพ์นิยมจะต้องทำการเข้าช่อชนวนในขณะที่เป็นหุ่นเทียน(พิมพ์นิยมเทหล่อเป็นช่อ-ช่อละหลายองค์)ส่วนพิมพ์ขี้ตาเทหล่อที่ละองค์ ความแตกต่างอยู่ที่ใต้ฐานพระพิมพ์นิยมจะสังเกตเห็นรอยช่อชนวนประมาณแท่งดินสอ แต่พิมพ์ขี้ตาจะไม่ปรากฏรอยช่อชนวนแต่จะเป็นรอยขรุขระ-หรือรอยยุบตัวของโลหะ และปรากฏรอยตะเข็บพิมพ์ด้านข้าง ซึ่งในพิมพ์นิยมจะไม่เห็นรอยตะเข็บนี้เนื่องจากช่างจะทำการแต่งลบรอยตะเข็บในขณะที่เป็นหุ่นเทียน และนี่คือจุดพิจารณาในการแยกแยะพระรูปหล่อพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตานอกเหนือจากการสังเกตพิมพ์ซึ่งมีความแตกต่างกันในตัว
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตายังจำแนกเป็นอีก ๔ พิมพ์ด้วยกันคือ
๑. พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย รูปหล่อพิมพ์นี้ขนาดจะเล็กกว่าพระพิมพ์ขี้ตาทุกพิมพ์การสังเกตพิมพ์ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๓ เส้นพาดจากขอบสังฆาฏิเฉียงลงมาชนท้องแขนขวา เส้นริ้วจีวรด้านซ้ายมือเส้นแรกจากสังฆาฏิจะโค้งขึ้นแล้วลาดลงมาขอบแขนซ้าย
๒. พิมพ์ขี้ตา ๔ ชายเล็ก ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวาองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๔ เส้นลาดโค้งมาจากขอบสังฆาฏิขวาลงมาชนท้องแขนขวาและบริเวณแขนขวาองค์พระเหนือข้อศอกเล็กน้อยมักจะเป็นหลุมเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์
๓. พิมพ์ขี้ตา ๔ ชายใหญ่พิมพ์นี้ใกล้เคียงกับพิมพ์ ๔ ชายเล็กมากผู้เขียนยังเคยเห็นนักนิยมพระหลายท่านเรียกสับสน ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวาองค์พระริ้วจีวร ๔ เส้นจะลาดโค้งกว่าพิมพ์ ๔ ชายเล็กโดยริ้วจีวรเส้นบนสุดจะลาดโค้งไปจรดเกือบซอกแขนขวาด้านบน
และเส้นริ้วจีวรเส้นที่ ๓ จากด้านบนในซอกจะเห็นเนื้อเกินคล้ายสามเหลี่ยมชนไปเส้นจีวรเส้นที่ ๒ แก้มขวาองค์พระมีปลิ้นเนื้อเกินซึ่งเป็นมาแต่ในแม่พิมพ์ปรากฏ
๔. พิมพ์ขี้ตา ๕ ชาย ให้สังเกตเส้นริ้วจีวรขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๕ เส้นโค้งซ้อนลงมาท้องแขนขวาส่วนด้านซ้ายมือริ้วจีวรจะปรากฏเป็น ๓ เส้นใหญ่พาดเฉียงจากขอบสังฆาฏิซ้ายลงมาขอบแขนซ้าย มุมปากซ้ายองค์พระจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อย
พระทั้ง ๔ แบบพิมพ์ขนาด ๓ ชายจะเล็กที่สุดและจะไล่ขนาดถึงพิมพ์ ๕ ชายจะมีขนาด –
เขื่องที่สุดและที่น่าสังเกตอีกจุดหนึ่งคือบริเวณหัวตาขวาองค์พระจะเป็นเป็นรอยเส้นเฉียงขึ้นเล็กน้อย(เส้นนี้เล็กและตื้นมาก)ปรากฏทุกพิมพ์ และนอกเหนือจากนี้ยังมีจุดพิจารณาอีกหลายแห่ง พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตานี้เป็นเนื้อโลหะผสม(ทองเหลืองแก่เงิน)ต้องมีคราบดินเบ้าปรากฏ ดินนี้ฝังอยู่ตามเนื้อพระหลายท่านเรียกดินนี้ว่า”แร่น้ำพี้” ดินนี้มีสีดำบางครั้งเห็นเป็นเม็ดทรายฝังอยู่ก็มี พระปลอมไม่ปรากฏว่ามีสิ่งเหล่านี้ และประการสำคัญที่สุดคือการจำแบบพิมพ์ให้ได้(แม่นพิมพ์) จำเนื้อ(พระเทหล่อดินไทย เนื้อทองผสม)ให้ได้ศึกษาจากผู้รู้ตำราที่เชื่อถือได้ และประการสุดท้ายห้ามเชื่อที่มาและห้ามฟังนิยายให้ยึดถือมาตรฐานของการสะสมพระที่ถูกวิธี รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติทั้งพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตานี้สันนิษฐานว่าสร้างรวมกันอยู่ที่หลักพันองค์หรือกว่านี้ไม่มาก
พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย
1. จีวรด้านขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๓ เส้นพาดจากขอบสังฆาฏิเฉียงลงมาชนท้องแขนขวา
2. เส้นริ้วจีวรด้านซ้ายมือเส้นแรกจากสังฆาฏิจะโค้งขึ้นแล้วลาดลงมาขอบแขนซ้าย
คำบูชา พระคาถาบูชา หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ตั้งนะโม ๓ จบ "อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะวันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตัง มหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง"
ผู้เข้าชม
18381 ครั้ง
ราคา
0910657798
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
ตรีนิสิงห์ พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0889747991​
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 376-2-27954-0
2. ธนาคารกสิกรไทย / 037-3-86656-3

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
greenpizza Turyว.ศิลป์สยามLovazaOatbeautNongBoss
Joker Tanakronกู่ทองยิ้มสยาม573somemanponsrithong2Yayoi
wach2514เพ็ญจันทร์นานาLe29Amuletสุข อุดรvanglanna
Achiep8600hoppermanboonyakiatmaximum9fuchoo18
TotoTatoหริด์ เก้าแสนภูมิ IRสมเกียรติ23นรินทร์ ทัพไทยtermboon

ผู้เข้าชมขณะนี้ 898 คน

เพิ่มข้อมูล

หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สามชาย




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สามชาย
รายละเอียด
หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตาสามชาย สร้างเมื่อประมาณปี 2450
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลานพิมพ์ขี้ตา นักนิยมพระเรียกขานตามรายละเอียดที่ติดมากับองค์พระ กล่าวคือ บริเวณใต้นัยน์ตาขวาของรูปหล่อช่วงติดกับดั้งจมูก
จะมีเม็ดเนื้อเกินคล้ายขี้ตา จึงเป็นที่มาของนามว่าพิมพ์ขี้ตา
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตานี้ ตามความเข้าใจน่าจะเป็นงานเทหล่อฝีมือช่างชาวบ้าน
ฉะนั้นความประณีตสวยงามไม่อาจเทียบกับพิมพ์นิยมซึ่งเทหล่อโดยนายช่างจากบ้านช่างหล่อ
แต่ก็ทำให้เกิดเสน่ห์ของงานศิลป์อีกรูปแบบ รูปหล่อพิมพ์ขี้ตานี้ขบวนการผลิตเทหล่อเริ่มจาก
การทำแม่พิมพ์(บล็อก)ด้านหน้าและหลัง หลังจากนั้นจะเข้าขบวนการทำหุ่นเทียนคือการนำขี้ผึ้ง
(สำหรับการทำพระ)การตีพิมพ์ในแม่พิมพ์(บล็อก) และนำหุ่นเทียน(แบบที่ได้จากการตีพิมพ์ขี้ผึ้งนี้จะเรียกว่าหุ่นเทียน) มาทาน้ำขี้วัวหลายเที่ยวหลังจากนั้นจึงเข้าดิน-ผูกลวด (กันเบ้าแตก) –
จากนั้นเมื่อได้ฤกษ์เททองหล่อจะนำเบ้าพระนั้นสุมสำรอกหุ่นเทียนและเทหล่อ ความแตกต่างของขบวนการผลิตระหว่างพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาอยู่ที่พระพิมพ์นิยมจะต้องทำการเข้าช่อชนวนในขณะที่เป็นหุ่นเทียน(พิมพ์นิยมเทหล่อเป็นช่อ-ช่อละหลายองค์)ส่วนพิมพ์ขี้ตาเทหล่อที่ละองค์ ความแตกต่างอยู่ที่ใต้ฐานพระพิมพ์นิยมจะสังเกตเห็นรอยช่อชนวนประมาณแท่งดินสอ แต่พิมพ์ขี้ตาจะไม่ปรากฏรอยช่อชนวนแต่จะเป็นรอยขรุขระ-หรือรอยยุบตัวของโลหะ และปรากฏรอยตะเข็บพิมพ์ด้านข้าง ซึ่งในพิมพ์นิยมจะไม่เห็นรอยตะเข็บนี้เนื่องจากช่างจะทำการแต่งลบรอยตะเข็บในขณะที่เป็นหุ่นเทียน และนี่คือจุดพิจารณาในการแยกแยะพระรูปหล่อพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตานอกเหนือจากการสังเกตพิมพ์ซึ่งมีความแตกต่างกันในตัว
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตายังจำแนกเป็นอีก ๔ พิมพ์ด้วยกันคือ
๑. พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย รูปหล่อพิมพ์นี้ขนาดจะเล็กกว่าพระพิมพ์ขี้ตาทุกพิมพ์การสังเกตพิมพ์ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๓ เส้นพาดจากขอบสังฆาฏิเฉียงลงมาชนท้องแขนขวา เส้นริ้วจีวรด้านซ้ายมือเส้นแรกจากสังฆาฏิจะโค้งขึ้นแล้วลาดลงมาขอบแขนซ้าย
๒. พิมพ์ขี้ตา ๔ ชายเล็ก ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวาองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๔ เส้นลาดโค้งมาจากขอบสังฆาฏิขวาลงมาชนท้องแขนขวาและบริเวณแขนขวาองค์พระเหนือข้อศอกเล็กน้อยมักจะเป็นหลุมเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์
๓. พิมพ์ขี้ตา ๔ ชายใหญ่พิมพ์นี้ใกล้เคียงกับพิมพ์ ๔ ชายเล็กมากผู้เขียนยังเคยเห็นนักนิยมพระหลายท่านเรียกสับสน ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวาองค์พระริ้วจีวร ๔ เส้นจะลาดโค้งกว่าพิมพ์ ๔ ชายเล็กโดยริ้วจีวรเส้นบนสุดจะลาดโค้งไปจรดเกือบซอกแขนขวาด้านบน
และเส้นริ้วจีวรเส้นที่ ๓ จากด้านบนในซอกจะเห็นเนื้อเกินคล้ายสามเหลี่ยมชนไปเส้นจีวรเส้นที่ ๒ แก้มขวาองค์พระมีปลิ้นเนื้อเกินซึ่งเป็นมาแต่ในแม่พิมพ์ปรากฏ
๔. พิมพ์ขี้ตา ๕ ชาย ให้สังเกตเส้นริ้วจีวรขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๕ เส้นโค้งซ้อนลงมาท้องแขนขวาส่วนด้านซ้ายมือริ้วจีวรจะปรากฏเป็น ๓ เส้นใหญ่พาดเฉียงจากขอบสังฆาฏิซ้ายลงมาขอบแขนซ้าย มุมปากซ้ายองค์พระจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อย
พระทั้ง ๔ แบบพิมพ์ขนาด ๓ ชายจะเล็กที่สุดและจะไล่ขนาดถึงพิมพ์ ๕ ชายจะมีขนาด –
เขื่องที่สุดและที่น่าสังเกตอีกจุดหนึ่งคือบริเวณหัวตาขวาองค์พระจะเป็นเป็นรอยเส้นเฉียงขึ้นเล็กน้อย(เส้นนี้เล็กและตื้นมาก)ปรากฏทุกพิมพ์ และนอกเหนือจากนี้ยังมีจุดพิจารณาอีกหลายแห่ง พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตานี้เป็นเนื้อโลหะผสม(ทองเหลืองแก่เงิน)ต้องมีคราบดินเบ้าปรากฏ ดินนี้ฝังอยู่ตามเนื้อพระหลายท่านเรียกดินนี้ว่า”แร่น้ำพี้” ดินนี้มีสีดำบางครั้งเห็นเป็นเม็ดทรายฝังอยู่ก็มี พระปลอมไม่ปรากฏว่ามีสิ่งเหล่านี้ และประการสำคัญที่สุดคือการจำแบบพิมพ์ให้ได้(แม่นพิมพ์) จำเนื้อ(พระเทหล่อดินไทย เนื้อทองผสม)ให้ได้ศึกษาจากผู้รู้ตำราที่เชื่อถือได้ และประการสุดท้ายห้ามเชื่อที่มาและห้ามฟังนิยายให้ยึดถือมาตรฐานของการสะสมพระที่ถูกวิธี รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติทั้งพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตานี้สันนิษฐานว่าสร้างรวมกันอยู่ที่หลักพันองค์หรือกว่านี้ไม่มาก
พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย
1. จีวรด้านขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร ๓ เส้นพาดจากขอบสังฆาฏิเฉียงลงมาชนท้องแขนขวา
2. เส้นริ้วจีวรด้านซ้ายมือเส้นแรกจากสังฆาฏิจะโค้งขึ้นแล้วลาดลงมาขอบแขนซ้าย
คำบูชา พระคาถาบูชา หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ตั้งนะโม ๓ จบ "อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะวันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตัง มหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง"
ราคาปัจจุบัน
0910657798
จำนวนผู้เข้าชม
18515 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
ตรีนิสิงห์ พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0889747991
ID LINE
0889747991​
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 376-2-27954-0
2. ธนาคารกสิกรไทย / 037-3-86656-3




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี